หน้าแรก
ช่างทั้งหมด
ข่าวสาร
เรียกช่างด่วน (ภายใน 2 ชม.)
ตรวจเช็ครอยร้าว
ประกาศหาช่าง
แจ้งปัญหา
ติดต่อเรา
หมวดหมู่ที่น่าสนใจ
ช่างไฟฟ้า
ช่างประปา
ช่างก่อสร้าง
ช่างฝ้า / เพดาน
ช่างทาสี
สมัครเป็นช่าง
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
แจ้งปัญหา
คุณยังไม่มีการแจ้งเตือน
หน้าแรก
ช่างทั้งหมด
ข่าวสาร
ตรวจรอยร้าว
ติดต่อเรา
เรียกช่างด่วน
ระบบตรวจเช็ครอยร้าวของที่อยู่อาศัย
ลูกค้าสามารถเลือกช่างและคุยกับช่างเองได้ก่อนตัดสินใจ กรุณากรอกรายละเอียดงานด้านขวามือเพิ่อเริ่มหาช่าง
ระบบประเมินความเสี่ยงรอยร้าวสถานที่อยู่อาศัย
ระบบประเมินความเสี่ยงรอยร้าวสถานที่อยู่อาศัย เราใช้ผู้เชี่ยวชาญอัจฉริยะ เพื่อประเมินรอยร้าวของสถานที่พักของคุณภายใน 1 นาที ** การตรวจอาจมีความไม่แม่นยำ กรุณาตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะอีกครั้ง **
กรุณาอัพโหลดรูปของคุณ
กรุณาอัพโหลดรูปรอยร้าวของคุณ โดยถ่ายจากบริเวณที่มีแสง เห็นลักษณะของรอยร้าวได้ชัดเจน
เลือกรูปภาพ
วิธีการใช้งาน : How to use
1. ถ่ายภาพรอยร้าวบริเวณที่ต้องการตรวจสอบให้ชัดเจน (แนะนำให้ถ่ายในที่มีแสงสว่างเพียงพอ) แล้วอัปโหลดผ่านปุ่ม “อัปโหลดรูปภาพ”
2. เมื่ออัปโหลดเสร็จ ระบบจะแสดงหน้าต่างยืนยัน ให้กด “เริ่มเลย” เพื่อส่งภาพเข้าสู่ระบบตรวจสอบ
3. ระบบจะใช้ AI วิเคราะห์ลักษณะของรอยร้าว เพื่อประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น
4. หลังจากการประเมินเสร็จสิ้น (ภายในไม่เกิน 1 นาที) ระบบจะแสดงผลให้คุณทราบว่ารอยร้าวอยู่ในระดับใด
5. ผู้ใช้สามารถบันทึกผลการประเมินไว้ หรือแชร์ผลลัพธ์ให้กับผู้รับเหมา/วิศวกร เพื่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติม
6. หากพบว่ารอยร้าวอยู่ในระดับเสี่ยงสูง คุณสามารถกด "ค้นหาช่าง" เพื่อเชื่อมต่อกับทีมช่างหรือวิศวกรใกล้บ้านได้ทันที
ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก :
https://www.toagroup.com/
ลักษณะและประเภทของรอยร้าว
เมื่อรู้ที่มาที่ไปของสาเหตุที่ก่อให้เกิดรอยร้าวผนังแล้ว ขั้นตอนต่อไป มาสังเกตดูกันว่า ประเภทของรอยร้าวรูปแบบไหนที่เป็นอันตราย และต้องได้รับการซ่อมแซมโดยด่วน
(1) รอยร้าวผนังแบบแตกลายงา
รอยร้าวแบบแตกลายงา เป็นรอยร้าวผนังที่สามารถพบเห็นได้บ่อยมากที่สุด โดยสาเหตุหลักๆ มาจาก
- การผสมปูนที่ไม่ได้สัดส่วน
- การฉาบปูนจากช่างที่ไม่มีความชำนาญมากพอ
- ไม่ได้บ่มน้ำก่อนฉาบปูนกับวัสดุอย่างอิฐมวลเบาที่มีความยืดหยุ่นกว่าอิฐปกติ ซึ่งเมื่อก่ออิฐมวลเบาเสร็จต้องมีการพรมน้ำบนอิฐและทิ้งไว้ 7 วันก่อนลงมือฉาบปูน แต่หลายคนอาจจะข้ามขั้นตอนตรงนี้ไปเพราะใช้ระยะเวลานาน จึงก่อให้เกิดรอยร้าวบนผนังแบบลายงาได้
โดยรอยร้าวลักษณะนี้ไม่เป็นอันตราย ไม่ส่งผลต่อโครงสร้างภายใน แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานเพราะเมื่อเกิดฝนตก ผนังจะกักเก็บความชื้นไว้ ทำให้ผนังบวม เกิดปัญหาสีลอกร่อน และเชื้อราได้ แนะนำให้อุดโป๊วด้วย วอลล์ พุตตี้ (Wall Putty) ทีโอเอ อะคริลิก ฟิลเลอร์ (TOA Acrylic Filler) ซึ่งเป็นอะคริลิกอุดโป๊วสีขาว เปิดใช้ได้ทันที เมื่อโป๊วเสร็จแล้วสามารถทาสีทับได้ นอกจากนี้ยังไม่ทำให้สีทับหน้าเกิดการเหลืองตัวอีกด้วย
(2) รอยร้าวผนังแบบแนวทแยง/เฉียงกลางผนัง
รอยร้าวผนังแบบแนวทแยง หรือแบบเฉียงกลางผนัง สามารถสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับฐานรากของตัวบ้าน เป็นรอยร้าวที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน โดยสาเหตุอาจเกิดจาก
- เสาบางต้นในบ้านมีการทรุดตัว ทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเหมือนเดิม ส่งผลให้ผนังเกิดการแตกร้าวลงมา
- การต่อเติมบ้านที่ไม่เป็นไปตามหลักการ ส่งผลให้เสาเดิมในบ้านไม่สามารถรับน้ำหนักได้
โดยรอยร้าวลักษณะนี้ถือเป็นรอยร้าวที่เป็นอันตราย เพราะจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าผนังจะเริ่มพังลงมาแล้ว ฉะนั้นควรรีบปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน เพื่อหาทางแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
(3) รอยร้าวเฉียงๆ ตามมุมขอบวงกบ
รอยร้าวแบบต่อไปคือ รอยร้าวเฉียงๆ ตามมุมขอบวงกบบริเวณหน้าต่าง หรือบานประตู โดยให้สังเกตดูว่า หากรอยไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก็สามารถสันนิษฐานได้ว่าเกิดการยืดขยายของวงกบหน้าต่าง หรือบานประตู ที่อาจจะเกิดมาจากสภาพอากาศที่เมื่ออุณหภูมิสูงก็อาจทำให้โครงสร้างภายในมีการขยายตัว หากมีอุณหภูมิต่ำก็ทำให้โครงสร้างมีการหดตัวได้ โดยรอยร้าวลักษณะนี้ถือว่าไม่รุนแรง สามารถซ่อมแซมได้เอง
- ในกรณีที่รอยแตกร้าวอยู่ภายในตัวบ้าน แนะนำให้ใช้ ทีโอเอ อะคริลิก ซีลแลนท์ (TOA Acrylic Sealant) ซึ่งมีทั้งแบบหลอดและแบบกระป๋อง (แบบหลอดคือ ทีโอเอ 303 อะคริลิก ซีลแลนท์, แบบกระป๋อง คือ ทีโอเอ 302 อะคริลิก ซีลแลนท์)
- กรณีที่เป็นรอยร้าวที่อยู่ด้านนอกตัวบ้าน หรือรอยร้าวที่มีแนวโน้มว่าอาจจะขยายหรือหดตัวได้อีกบ่อยๆ แนะนำให้ใช้ทีโอเอ โพลียูริเทน ซีลแลนท์ (TOA PU Sealant) ซึ่งมีคุณสมบัติยืดหยุ่นตัวได้มากกว่า
แต่ถ้าเกิดเป็นรอยร้าวแบบเฉียงๆ ในทิศทางเดียวกัน เกิดเป็นร่องรอยที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน และดูจะมีการขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ให้สันนิษฐานว่ากำลังเกิดปัญหากับฐานรากอาคารที่มีการทรุดตัว ซึ่งควรที่จะเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาซ่อมแซมโดยด่วน
(4) รอยร้าวผนังแนวดิ่งกลางคาน
หากรอยร้าวเป็นแบบแนวดิ่งกลางผนัง รอยร้าวแนวตั้งจะมีลักษณะของรอยที่กว้างช่วงบน หรือแคบลงมา รอยร้าวนี้แสดงถึงปัญหาของโครงสร้างภายในอาคาร อย่างคานที่รับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้หินหรืออิฐภายในผนังดันตัวจนเกิดเป็นรอยร้าว การคำนวณน้ำหนักโครงสร้างที่ผิดพลาด ทำให้อาคารรับน้ำหนักได้ต่ำกว่ามาตรฐาน โดยรอยร้าวลักษณะนี้เป็นอันตราย ควรเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมาซ่อมแซมโดยด่วน และให้ทำการย้ายของจากชั้นบนลงมาเพื่อเป็นการถ่ายเทน้ำหนักในเบื้องต้นก่อน
(5) รอยร้าวแนวเฉียงที่หัวเสา (ลามไปถึงคาน)
รอยร้าวผนังประเภทต่อมาคือ รอยร้าวแนวเฉียงที่หัวเสา ที่อาจลามไปถึงคาน รอยร้าวนี้จะมีลักษณะทั้งแบบแนวเฉียง หรือแนวดิ่ง โดยมักจะเกิดขึ้นกับปลายทั้งสองข้างของคาน สาเหตุส่วนใหญ่จะมาจากการที่คานไม่สามารถรับน้ำหนักได้ไหว หรือการที่คานต้องรับน้ำหนักที่มากเกินกว่าที่คำนวณมาในตอนแรก ทำให้เสาและคานแยกตัวออกจากกัน รอยร้าวลักษณะนี้มีอันตราย อาจเป็นสาเหตุให้บ้านหรืออาคารถล่มลงมาได้ ควรเรียกผู้เชี่ยวชาญเข้ามาแก้ไขโดยด่วน
(6) รอยร้าวบนพื้น
รอยร้าวบนพื้นจะมีลักษณะร่องรอยที่แตกต่างกันไป บ่งบอกถึงปัญหาที่แตกต่างกัน โดยเราจะขอหยิบยกมา 2 ประเภทให้ได้สังเกตกันคือ หากรอยร้าวบนพื้นมีลักษณะเป็นรอยร้าวแนวเฉียงเข้าหาเสาทั้งสี่มุม สามารถสันนิษฐานได้ว่าพื้นมีการแอ่นตัว เพราะต้องรองรับน้ำหนักที่มากเกินไป รอยร้าวบนพื้นรูปแบบต่อไปคือเป็นแนวเส้นตรง หรือเป็นรูปตีนกา สามารถสันนิษฐานได้ว่าตัวคอนกรีตอาจมีการยืดและหดตัวตามสภาพภูมิอากาศ หากเป็นรอยลึกให้ระมัดระวังในเรื่องของการรั่วซึม เพราะอาจส่งผลต่อโครงสร้างของเหล็กภายใน ที่อาจก่อให้เกิดสนิม และแตกร้าวออกมาได้
การนำทาง | Navigator
หน้าแรก
ช่างทั้งหมด
ข่าวสาร
ประกาศหาช่าง
ติดต่อเรา
ช่องทางการติดต่อ | Contact